รู้จักก่อนเที่ยว “ถ้ำนาคา” หรือ “ถ้ำพญานาค” ตำนานถ้ำมหัศจรรย์แห่งพญานาค

ถ้ำนาคา

ที่มาที่ไปของเมืองพญานาค “ถ้ำนาคา” ในจังหวัดบึงกาฬ

วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ ถ้ำสวยอันซีนอุทยานแห่งชาติภูลังกา เป็นถ้ำแห่งหนึ่งในจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเกิดจากลักษณะของหินและผนังถ้ำที่มีรูปทรงคล้ายพญานาคหรืองูขนาดใหญ่นอนขดตัว มีชื่อว่า “ถ้ำนาคา” หรือ “ถ้ำพญานาค” เรียกได้ว่าเป็นถ้ำที่มีความพิศวงอย่างมาก ลักษณะของหินคล้ายงูขนาดใหญ่ มีทั้งส่วนหัว ลำตัว และเกล็ดพญานาค นอกจากนั้นแล้วยังมีเรื่องเล่าตำนานความเชื่อดั้งเดิม

นำไปผูกโยงกับพญานาคว่า ถ้ำนาคา คือพญานาคหรืองูยักษ์ ที่ถูกสาปให้กลายเป็นหินตามตำนาน ตามคติชาวบ้าน หรือความเชื่อในท้องถิ่นบางส่วนเชื่อว่า พญานาค ที่ชาวบ้านเรียกว่า ปู่อือลือ ถูกสาปให้ร่างกลายเป็นหินติดอยู่ในถ้ำแห่งนี้ ชาวบ้านมีความเชื่อที่ว่า ถ้ำนาคา คือ พญานาค หรือ งูยักษ์ ที่ถูกสาปให้กลายเป็นหินนั่นเอง

ด้วยสาเหตุที่ว่าบริวารของพญานาค  ผู้ครองเมืองบาดาล ไปมีสัมพันธ์สวาทกับมนุษย์ และเมืองบาดาลที่พญานาคและบริวาร อาศัยอยู่ก็คือ บึงโขงหลง ในจังหวัดบึงกาฬปัจจุบัน โดยตำนานเล่าขานว่าแต่เดิมนั้นปู่อือลือ เป็นเทพเจ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นฟ้า จากนั้นก็ถูกสาปลงมาให้เป็นพญานาค ปกครองอยู่ที่เมืองบาดาลที่บึงโขงหลง หรือ จ.บึงกาฬ

ซึ่งมีทั้งพญานาคและมนุษย์ที่อาศัยอยู่ที่เมืองบาดาลนี้ ต่อมาผู้คนในเมืองบาดาล ทั้งมนุษย์และพญานาค เกิดกิเลสสมสู่ชอบคอกันเอง เมื่อปู่อือลือพญานาคทราบเรื่อง ก็เกิดความโมโหให้กับบริวาร ที่ไปรักใครกับมนุษย์ จากนั้นจึงสาปให้บริวารกลายเป็นหินอยู่ในถ้ำ โดยบริวารที่ถูกสาปนั้นก็มีอยู่ทั่วเมืองบึงกาฬ และมีอยู่หลายที่เพื่อให้ปกป้องมนุษย์

และเป็นสิ่งศักกสิทธิ์ที่คนกำลังให้ความนิยมและความสำคัญถึงความอัศจรรย์ของถ้ำนาคาอย่างมากในปัจจุบัน ผู้ที่ได้มาพบเห็นถ้ำแห่งนี้เกิดการกระจายข่าวไปตามความเชื่อส่วนบุคคลจนเป็นที่โด่งดัง โดยถ้ำนาคาเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ส่วนถ้ำนาคีจะคล้ายกับถ้ำนาคา มีเพิงหินใหญ่และมีลวดลายของเกล็ดพญานาคบนพื้นผิว

แถมยังมีก้อนหินใหญ่ลักษณะเหมือนหินหัวงูอยู่ไม่ไกลกันอีกด้วย อีกทั้งหากเดินต่อไปอีกราวครึ่งกิโลเมตรก็จะมีจุดชมวิว“ผานาคี” เป็นจุดชมวิวแม่น้ำโขง

ถ้ำนาคา ตั้งอยู่บริเวณ วัดถ้ำชัยมงคล ในเขต อุทยานแห่งชาติภูลังกา อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นนั่นก็คือ ผนังของถ้ำจะมีลักษณะคล้ายเกล็ดของพญานาคตามความเชื่อของชาวบ้าน ในทางหลักของทางวิทยาศาสตร์ที่แห่งนี้ เรียกปรากฏการณ์ทาง ธรณีวิทยาอย่างหนึ่งว่า “ซันแคร็ก” (Sun Crack)

ถ้ำสวยอันซีนอุทยานแห่งชาติภูลังกา ที่เกิดจากรอยแตกบริเวณหน้าผิวของหินและมีการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิที่แตกต่างกันจึงทำให้มีรอยคล้ายเกล็ดของพญานาคนั่นเอง

ตำนาน “พญานาค” ตามความเชื่อใน ศาสนาพุทธ และ ศาสนาพราหมณ์

“พญานาค” ตามความเชื่อในศาสนาพุทธ และ ศาสนาพราหมณ์ นาคราช ปรากฏทั้งในอินเดีย ไทย และทั่วไปในดินแดนอุษาคเนย์ หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับศาสนาคือ พราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ

นาค ในตามความเชื่อของพราหมณ์-ฮินดู เป็นสิ่งมีชีวิตกึ่งเทพ มีพลังอำนาจวิเศษ รูปลักษณะของนาคเป็นมนุษย์กึ่งมนุษย์กึ่งนาค หรือเป็นลักษณะนาคทั้งหมด นาคอาศัยอยู่ในโลกบาดาล ซึ่งเต็มไปด้วยอัญมณี ทองคำ และสมบัติทางโลกอื่น ๆ นาคมีความเกี่ยวพันกับน้ำ เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ ทะเล หรือแม้แต่บ่อน้ำ และถือว่าเป็นผู้พิทักษ์สมบัติ และในตำนานฮินดู นาค ซึ่งประทับรอบพระศอของพระศิวะได้มาเป็นเชือกสำหรับการกวนน้ำในเกษียรสมุทร

นาคในศาสนาพุทธ ปรากฏในรูปของงูขนาดใหญ่ บางตนมีพลังวิเศษแปลงกายเป็นรูปมนุษย์ได้ เชื่อว่านาคอาศัยในบาดาล เช่นเดียวกันกับเทวดาบางส่วน และอาศัยในส่วนต่าง ๆ ของโลกมนุษย์ บางส่วนอาศัยในน้ำ เช่นลำธาร แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร และบางส่วนอาศัยบนบกเช่นในถ้ำ นาคเป็นบริวารของท้าววิรูปักษ์ หนึ่งในโลกบาลผู้พิทักษ์ทิศตะวันตก นาคต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์บนเขาพระสุเมรุ เพื่อปกป้องชั้นดาวดึงส์จากอสูร

นาคในศาสนาพุทธที่รู้จักกันคือ นาคมุจลินท์ ซึ่งปรากฏในมุจจลินทสูตรว่า ระหว่างที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข เกิดฝนฟ้าคะนองรุนแรง พญามุจลินท์จึงได้ขดรอบพระพุทธองค์แล้วแผ่พังพานปกพระเศียรของพระพุทธเจ้าเพื่อมิให้ทรงต้องฝน หลังจากฝนหยุด พญามุจลินท์ได้คลายขดออกและแปลงกายเป็นชายหนุ่มยืนพนมมือถวายความเคารพอยู่เฉพาะพระพักตร์

ในความเชื่อของวัฒนธรรมร่วมไทย-ลาว มีการนับถือนาคในลักษณะเป็นเทพแห่งน้ำ และมีความเชื่อว่าในแม่น้ำโขงนั้นมีนาคอาศัยอยู่ ตามตำนาน สัตว์จำพวกงู, แมงป่อง, ตะขาบ, คางคก มีพิษจากพิษที่นาคได้คายทิ้งไว้ นอกจากนี้ในความเชื่อของไทยได้เชื่อมโยงกับศาสนาพุทธในเรื่องกำเนิดของพญานาคที่มีหลายลักษณะ

นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อกันว่า แม่น้ำโขงเกิดจากการไถลตัวของพญานาค 2 ตน จึงเกิดเป็นแม่น้ำโขงและแม่น้ำน่าน และยังมีตำนานกล่าวถึงบั้งไฟพญานาค ว่าในวันออกพรรษาหรือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พญานาคแม่น้ำโขงต่างชื่นชมยินดี จึงทำบั้งไฟถวายการเสด็จกลับของพระพุทธเจ้าจนกลายเป็นประเพณีทุกปี

ถ้ำนาคา

รีวิว ถ้ำนาคา บึงกาฬ ไฮไลต์ที่สำคัญของถ้ำนาคาและการเดินทาง

เมื่อเดินทางมาถึง ถ้ำสวยอันซีนอุทยานแห่งชาติภูลังกา สิ่งแรกที่จะเจอคือ รายละเอียดของตัวถ้ำ ถ้าเราได้เดินทางมาแล้วจะพบลักษณะผนังคล้าย เกล็ดของพญานาค หรือลำตัวที่กำลังนอนขดตัวอยู่ แสดงว่าเราได้เดินทางมาถึงถ้ำนาคาแล้ว จุดที่สำคัญคือ เศียรของพญานาค มีลักษณะเป็นหินขนาดใหญ่ มีสีน้ำตาล มีเกล็ด และรูปร่างคล้ายเศียรของพญานาค เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมากราบไว้บูชาเพื่อขอโชค ขอลาภ เสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต

โดยสถานที่แห่งนี้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยชาวบ้านและนักท่องเที่ยวต่างพากันมาชื่นชมความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ และขอพร ที่ถ้ำนาคาแห่งนี้ ตามความเชื่อโบราณว่า ที่แห่งนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของพญานาคอยู่ร่วมกันกับมนุษย์ คอยปกป้องรักษา ไม่ให้เกิดอันตราย เรียกได้ว่าว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องเดินทางมาสัมผัสด้วยตัวเองให้ได้สักครั้งในชีวิต

สำหรับการเตรียมตัวและอุปกรณ์ แต่งตัวให้ร้อมเดินป่า น้ำดื่มอย่างน้อย 2 ขวด เกลือแร่ ใส่ “กระเป๋าสะพายหลัง” หรือ กระเป๋าที่ไม่ต้องใช้มือหิ้ว ยาดม ยาหม่อง และผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง ถุงมือกับเสื้อกันฝนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนักท่องเที่ยว เนื่องจากบริเวณด่านลงทะเบียนขึ้นถ้ำนาคามีถุงมือขาย นักท่องเที่ยวสามารถอุดหนุนสินค้าอุทยานเพื่อเป็นช่วยส่งเสริมด้านสวัสดิการเจ้าหน้าที่อุทยานได้

การเดินทางไป ถ้ำสวยอันซีนอุทยานแห่งชาติภูลังกา

ก่อนการเดินทางนักท่องเที่ยวต้องทำการจองคิวล่วงหน้าไม่เกิน 15 วันผ่านแอพลิเคชัน แอพ QueQ จำกัดวันละ 350คน/วัน การเดินทางขึนไปยังถ้ำนาคาจะใช้เวลาไปกลับทั้งหมดประมาณ 4-5 ชั่วโมง อย่างที่เรารู้กันว่าที่นี่คือคือ อุทยานแห่งชาติภูลังกา ทางเดินขึ้นถ้ำนาคาจะมีลักษณะเป็นทางเดินป่าขึ้นเขาระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร โดยทางเดินจะเป็นทางเดินสลับกับบันได

และมีบางช่วงที่ต้องดึงเชือกแต่เพื่อน ๆ ไม่ต้องกลัวว่าจะหลงเพราะที่นี่จะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกและมีป้าบอกทางอย่างชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว

การเดินทางขึ้นถ้ำนาคาใช้เวลาเดิน ไป-กลับ แต่ละกลุ่มขึ้นห่างกัน 30 นาที ระยะทางขึ้น 2 กิโลเมตร ใช้เวลาไปกลับประมาณ 4-5 ชั่วโมง จองล่วงหน้า แอป QueQ ก่อนเข้าอุทยานฯ (หากมีฝนตกหนักจะปิดการขึ้นเขา)

แนะนำให้ขึ้นช่วงเช้า 7.00-12.00 น. ในช่วง 13.00-14.00 น. นักท่องเที่ยวจะได้ขึ้นเพียงถ้ำนาคาเพียงจุดเดียวไม่สามารถไปจุดอื่นได้เนื่องจากถึงเวลาลงจากเขา 17.00 น.

ข้อแนะนำสำหรับ ถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกา

– ควรแต่งการให้พร้อมสำหรับเดินป่า

– ควรเตรียมน้ำดื่มอย่างน้อย 2 ขวด /เกลือแร่ /กระเป๋าสะพายหลัง หรือกระเป๋าที่ไม่ต้องใช้มือหิ้ว /ยาดม /ยาหม่อง และผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง /ถุงมือ /เสื้อกันฝนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ

– ในกรณีสำหรับผู้สูงอายุ หากร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคไขข้อ ไม่แนะนำ

(ห้ามนำกระดาษทิชชู่ หลอดดูดน้ำ ถุงพลาสติก กล่องโฟม ดอกไม้ธูปเทียนเครื่องเซ่นไหว้ ขึ้นเขาโดยเด็ดขาด)

ถ้ำนาคา จังหวัดบึงกาฬ กับเรื่องน่ารู้ต่าง ๆ

ทึ่ง! “ถ้ำนาคา” อุทยานแห่งชาติภูลังกา ในจังหวัดบึงกาฬ พบข้อมูลใหม่เชื่อมโยงถึงโลกยุคน้ำแข็ง

ผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำและธรณีวิทยา เผยชุดข้อมูลใหม่ของ “ถ้ำนาคา” จ.บึงกาฬ ถ้ำสวยอันซีนอุทยานแห่งชาติภูลังกา เกี่ยวข้องกับโลกยุคน้ำแข็ง ได้มีการยกตัวของแผ่นดิน ด้านเพจ Buengkan day เผยภาพอันซีน “หินหัวพญานาค” ดูสวยงามแปลกตาแฝงลี้ลับน่าพิศวง

แม้ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่มาแรงอย่างต่อเนื่อง มีทั้งเรื่องเล่าความเชื่อดั้งเดิม ผสมด้วยจินตนาการของการแต่งเสริมเข้ามาใหม่ โดยเฉพาะเรื่องราวความเชื่อเกี่ยวกับ “พญานาค” อันเป็นที่มาของชื่อถ้ำ ขณะที่ข้อมูลทางด้านธรณีวิทยาที่เป็นข้อเท็จจริงนั้น ก็มีการสำรวจเพิ่มเติม พร้อมกับมีชุดข้อมูลใหม่มานำเสนอผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา

หลังถ้ำนาคาถูกเปิดตัวเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่มาแรง ล่าสุดทางกรมทรัพยากรธรณี ก็ได้ทำการสำรวจถ้ำเพิ่มเติม เพื่อนำชุดความรู้ใหม่ ๆ มานำเสนอ ควบคู่ไปกับการพัฒนาถ้ำแห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ในทางธรณีวิทยา

นาย “ชัยพร ศิริพรไพบูลย์” หรือ “อาจารย์ชัยพร” ผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำและนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ที่เป็นผู้นำทีมการสำรวจถ้ำนาคาอย่างเจาะลึกและเข้มข้น ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ปี 2563 ได้เผยข้อมูล และชุดความรู้ใหม่ ๆ ของถ้ำนาคา ผ่านเฟซบุ๊กบัญชีรายชื่อส่วนตัว Chaiporn Siripornpibul โดยมีประเด็นหลัก ๆ ดังนี้

ถ้ำนาคา เป็นส่วนหนึ่งของภูเขาหินทรายชื่อ “ภูลังกา” ที่อยู่ในหมวดหิน ยุคครีเทเซียสตอนปลาย (ประมาณ 70 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงท้าย ๆ ของโลกยุคไดโนเสาร์) หินทรายบริเวณนี้นอกจากจะมีความหนาค่อนข้างมาก และเนื้อหินมีความเป็นเนื้อเดียวกัน(homogeneous) แล้ว ยังมีความพรุนสูง ซึ่งมีผลสำคัญต่อการเกิดลวดลายคล้ายเกล็ดพญานาค

ส่วนตัวถ้ำนาคาหรือส่วนที่เป็นลำตัวพญานาคนั้น เกิดจากการยกตัวของแผ่นดิน (Tectonic uplift) ในภาคอีสาน ทำให้เกิด “รอยเว้าผนังถ้ำ (cave notch)” ที่มีลักษณะโค้งนูนออกมา และคั่นสลับด้วยผนังหินที่โค้งเว้าเข้าไป จากนั้นเกิดการกัดเซาะที่เป็นวัฏจักร (Cyclic Erosion) ในยุคโลกเย็นหรือ “ยุคน้ำแข็ง” กับยุคโลกร้อนในอดีตที่เกิดสลับกันเป็นวงรอบประมาณทุก ๆ 1 แสนปี

โดยมีน้ำเป็นตัวการหลักในการกัดเซาะหินลงไปตามกลุ่มรอยแตกของหินในแนวตั้งที่มีสองแนวตัดกันจนเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยม ปรากฏการณ์เหล่านี้ กินเวลายาวนานมาก จนทำให้เกิดเป็นถ้ำนาคาในปัจจุบัน ที่มีลักษณะเป็นช่องแคบตัดกันเหมือนถ้ำเขาวงกตขนาดเล็กที่ไม่มีหลังคาถ้ำ ทำให้ผนังแห่งนี้มีความโค้งและเว้าสลับกันดูคล้ายลำตัวพญานาคหรืองูยักษ์ ตามจินตนาการของชาวบ้านในแถบนั้น

ขณะที่ในส่วนของหินที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาคล้าย “เกล็ดพญานาค” อ.ชัยพร ได้ให้ข้อมูลว่า เกิดจากการขยายตัวและหดตัวของผิวหน้าของหิน ซึ่งกระบวนการนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “ซันแครก” ( Sun Cracks)

ซันแครก จะเกิดขึ้นเป็นวัฏจักรเช่นกัน แต่เป็นวัฏจักรที่สลับปรับเปลี่ยนระหว่างความร้อนจากแสงแดดในช่วงกลางวันกับความเย็นในช่วงกลางคืน แต่กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาที่ยาวนานมากคาดว่าจะใช้เวลานับแสนปีหรือนานกว่านั้น

ติดตามเว็บไซต์น่าสนใจเพิ่มเติม : หนังออนไลน์

อ่านบทความเพิ่มเติม > เที่ยวไหนดีภูเขาหรือทะเลแบบไหนน่าไปกว่ากัน